วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หลักในการอ่านกลอน


หลักในการอ่านกลอน 

 
มีหลักโดยทั่วไปที่ควรรู้ไว้ดังนี้ ...

1. ต้องรู้ลักษณะของบทประพันธ์ที่จะอ่านเช่น เอก โท ครุ ลหุ สัมผัส และ พยางค์ ที่บรรจุลงในวรรคหนึ่งๆ

2. ต้องรู้จังหวะและการแบ่งตอนของบทประพันธ์ที่จะอ่าน

3. คำที่รับสัมผัสกัน ต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดกว่าปกติ ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้ยาวกว่าธรรมดา

4. ห้ามเอื้อนเสียงที่คำลหุ เพราะมีเสียงสั้นและเบา

5. พยางค์ที่ใช้เกิน ให้อ่านเร็วและเบาอย่างอักษรนำ เพื่อให้เสียงไปตกอยู่ตรงพยางค์ที่ต้องการ เช่น ในแผนกำหนดให้ บรรจุคำหน่วยละ 1 พยางค์ แต่ผู้ประพันธ์บรรจุคำ 2 พยางค์ลงไปในหนึ่งหน่วย เช่น ดิลก ประโยชน์ ขยาย สมร ระลึก ฯลฯ คำที่มีพยางค์เกินเช่นนี้ต้องอ่านเสียงให้มาตกอยู่ที่พยางค์หลัง

6. เสียงวรรณยุกต์จัตวา ต้องอ่านเสียงให้สูงและดังก้อง

7. ต้องอ่านเสียง  และ  ให้ชัดเจน อย่าให้เสียงสลับกัน มิฉะนั้นผู้ฟังอาจจะเข้าใจความหมายคลาดเคลื่อนได้

8. เมื่ออ่านไปถึงตอนจะจบบท ต้องเอื้อนเสียงและทอดจังหวะให้ช้าลงจนกระทั่งจบบท


***อย่าซีเรียสเกินไปเรามาฟังเพลงกันดีกว่าาาา...คลิกที่นี่เลยค่ะ



ตัวอย่างการอ่านกลอน


ตัวอย่างการอ่านกลอนเพราะๆ นะคะ

          เราไปฟังกันเลยยย!!!



  1. กลอนสุภาพ
        
         หรือจะไปฟังกลอนสุภาพเพราะๆ กดที่นี่เลย...


2. กลอนลำนำ
                  
         1) กลอนดอกสร้อย


          2) กลอนสักวา


         
          3) กลอนเสภา



          4) กลอนบทละคร



  3. กลอนตลาด
                    
           1) กลอนเพลงยาว


  
           2) กลอนนิราศ



          3) กลอนปฏิพากย์






วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

เทคนิคในการแต่งกลอน


เทคนิคในการแต่งกลอน
เทคนิคในการแต่งกลอนง่ายๆ กับตัวช่วย 4 ข้อ จ้าาาาา ...








ประเภทของกลอน


ประเภทของกลอน
            เรารู้แล้วใช่ไหมว่ากลอนคืออะไร ต่อไปเรามาทำความรู้จักกับกลอนแต่ละประเภทกันเถอะ...





ประเภทของกลอน   แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่


1. กลอนสุภาพ 
        คือกลอนที่ใช้ถ้อยคำ และทำนองเรียบๆ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
1) กลอนหก
          ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอนหก พบครั้งแรกในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลายนอกนั้นก็แทรกอยู่ในกลอนบทละคร แต่ที่ใช้แต่ตลอดเรื่องเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ กนกนคร ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)
            คณะ กลอนหก บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 6 คำ ตามผัง



             สัมผัสนอก ให้มีสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายวรรคหน้ากับคำที่สองของวรรคหลังของทุกบาท และให้มีสัมผัสระหว่างบาทคือคำสุดท้ายของวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบท กำหนดให้คำสุดท้ายของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สองของบทถัดไป
             สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่หากจะให้กลอนสละสลวยควรมีสัมผัสระหว่างคำที่สองกับคำที่สาม หรือระหว่างคำที่สี่กับคำที่ห้าของแต่ละวรรค
          กฎสัมผัสบังคับของกลอนหก
          พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 1 บังคับให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 2 ของวรรคที่ 2 (บางครั้งให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 3 หรือ 4 ของวรรคที่ 2 ก็ได้)
          พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 บังคับให้สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 3
          พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 3 บังคับให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 2 ของวรรคที่ 4 (บางครั้งให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 3 หรือ 4 ก็ได้)
          พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 4 บังคับให้สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทต่อไป ซึ่งเรียกว่า การสัมผัสระหว่างบทการอ่านกลอนหก กลอนหก แบ่งวรรคการอ่านเป็น 2/2/2
          ตัวอย่าง
                    วันหนึ่งสากลย์คนธรรพ์    พร้อมกันสังคีตดีดสี
          เป็นที่เหิมเหมเปรมปรี               ต่างมีสุขล้ำสำราญ
          บางองค์ทรงรำทำเพลง              บังคลบรรเลงศัพท์สาร
          บันเทิงเริงรื่นชื่นบาน                ในวารอิ่มเอมเปรมใจ
                                                                (กนกนคร, กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์)
          2) กลอนเจ็ด
               กลอน 7 เป็นบทประพันธ์ที่กำหนดให้มีวรรคละ 7 คำ บางวรรคอาจมี 8 คำได้ เพราะเป็นคำผสม การส่งสัมผัส คำสุดท้ายของกลอนสดับส่งไปยังคำที่ 2 หรือที่ 3 ของกลอนรับ คำสุดท้ายของกลอนรับส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของกลอนรอง คำท้ายของกลอนรอง ส่งสัมผัสไปยังคำที่ 2 หรือที่ 3 ของกลอนส่ง คำสุดท้ายของกลอนส่ง ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของกลอนรับในบทต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้
          คณะ กลอนเจ็ด บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 7 คำ ตามผัง


          กฎสัมผัสบังคับของกลอนเจ็ด
          สัมผัสนอก ให้มีสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายวรรคหน้ากับคำที่สองของวรรคหลังของทุกบาท และให้มีสัมผัสระหว่างบาทคือคำสุดท้ายของวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบท กำหนดให้คำสุดท้ายของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สองของบทถัดไป
          สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่หากจะให้กลอนสละสลวยควรมีสัมผัสระหว่างคำที่สองกับคำที่สาม หรือระหว่างคำที่สี่กับคำที่ห้าหรือคำที่หกของแต่ละวรรค
          ตัวอย่าง
                    เสตเตลงเกรงกริ่งนิ่งรำลึก    คัดคึกข่าวทัพดูคับขัน
          จักเตรียมค่ายใหญ่ก็ไม่ทัน              จำกั้นกีดขวางหนทางยุทธ์
          ตั้งขัดตาทับรับไว้ก่อน                   เพื่อผ่อนเวลาให้ช้าสุด
          จวนตัวกลัวว่าศัตราวุธ                  หวิดหวุดหมดหวังในครั้งนี้
                                                           (สามกรุง, กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์)

          3) กลอนแปด 
          ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน พบครั้งแรกในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งค้นพบกันว่าจังหวะและลีลาลงตัวที่สุด จึงมีคนแต่งแบบนี้มากที่สุด และผู้ที่ทำให้กลอน 8 รุ่งเรืองที่สุดคือท่าน สุนทรภู่ ที่ได้พัฒนาเพิ่มสัมผัสอย่างเป็นระบบ ซึ่งใกล้เคียงกับกลบทมธุรสวาทีในกลบทศิริวิบุลกิตติ์
          กลอนแปด นั้นถือว่าเป็นขนบกวีนิพนธ์พื้นฐานที่นิยมที่สุดในไทย เหตุเพราะมีฉันทลักษณ์ที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน สามารถแสดงอารมณ์ได้หลากหลาย และคนทั่วไปสามารถเข้าถึงเนื้อความได้ไม่ยาก หนึ่งในรูปแบบของกลอนแปดก็คือ รูปแบบกลอนแปดของสุนทรภู่ ซึ่งความแพรวพราวด้วยสัมผัสใน และขนบดังกล่าวนี้ก็ได้รับการสืบทอดต่อมาในงานกวีนิพนธ์ยุคหลังๆ กระทั่งปัจจุบัน
          คณะ กลอนแปด บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 8 คำ ตามผัง

          
          หลักการใช้เสียงวรรณยุกต์
             คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 ใช้เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่ไม่นิยมเสียงสามัญ
             คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ห้ามใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี นิยมใช้เสียง จัตวา เป็นส่วนมาก
             คำสุดท้ายของวรรคที่ 3 ห้ามใช้เสียง เอก โท จัตวา นิยมใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี
             คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ห้ามใช้เสียง เอก โท จัตวา นิยมใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี
          ตัวอย่าง
                    เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น      เพราะดั้นด้นอยากลิ้มชิมรสหวาน
          ครั้นได้รสสดสาวจากจาวตาล                 ย่อมซาบซ่านหวานซึ้งตรึงถึงทรวง
          ไหนจะยอมให้เจ้าหล่นลงเจ็บอก              เพราะอยากวกขึ้นลิ้นชิมของหวง
          อันรสตาลหวานละม้ายคล้ายพุ่มพวง         พี่เจ็บทรวงช้ำอกเหมือนตกตาล...
                                                                   (นิราศพระบาท, สุนทรภู่)
          4) กลอนเก้า
          กลอนเก้า เป็นบทประพันธ์ที่กำหนดวรรคละ 9 คำ บางวรรคอาจมี 10 คำ เพราะเป็นคำผสม  การสัมผัสทั้งในวรรคและนอกวรรค ทั้งนอกบท มีอย่างเดียวกับกลอนแปด มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้
          คณะ กลอนเก้า บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 9 คำ ตามผัง

          ตัวอย่าง
                    นายชายพรานหนึ่งชาญไพรล่ำใหญ่ขยับ     ได้ยินกลองเดิรย่องกลับดูขับขัน
          มือป้องหน้ามุ่งป่าแน่วแนวแถววัน                      สุนัขย่องสุดมองขยันติดพันตาม
          มุ่งปะทะมาปะที่คนตีกลอง                              เพื่อนทักจ๋าพูดหน้าจ้องพรานร้องถาม
          เดิมแรกหูได้รู้เหตุสังเกตความ                           ว่าทรงนามว่าทรามนาฎนิราศจร
                                                          (กลบทระลอกแก้วกระทบฝั่ง, ศิริวิบุลกิตติ, หลวงปรีชา)

***ฟังตัวอย่างการอ่านกลอนสุภาพ คลิกที่นี่


2. กลอนลำนำ
กลอนลำนำ เป็นกลอนที่แต่งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายสำหรับการขับโต้ตอบกัน การขับลำนำเพื่อความไพเราะ และการขับร้องประกอบการแสดงเพื่อความบันเทิง แบ่งเป็น 5 ชนิด ได้แก่

          1) กลอนดอกสร้อย
          กลอนดอกสร้อย เป็นกลอนที่แต่งขึ้นเพื่อขับร้อง กลอนดอกสร้อย 1 บท มี 4 บาท จะมี 2 วรรค ใน 1 วรรค จะมี 7-9 พยางค์ ยกเว้นวรรคที่  จะมี 4 พยางค์ และพยางค์ที่ 2 จะมีคำว่า เอ๋ย ส่วนวรรคสุดท้ายของบทจะลงท้ายด้วยคำว่า เอย เสมอ
          การสัมผัสบังคับ
              1. พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 1 บังคับให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 3 ของวรรคที่ 2 (บางครั้งผ่อนผันให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 1,2,4 หรือ 5 ของวรรคที่ 2 ก็ได้)
              2.
 พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 บังคับให้สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 3
              3. พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 3 บังคับให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 3 ของวรรคที่ 4 (บางครั้งผ่อนผันให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 1,2,4 หรือ 5 ของวรรคที่ 4 ก็ได้)
              4.
 พยางค์สุดท้ายของวรรคสุดท้ายในบทที่ 1 บังคับสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 ในบทถัดไป
          แผนผัง

          ตัวอย่าง การสัมผัสบังคับ และการแบ่งวรรคในการอ่าน กลอนดอกสร้อย
                          แมวเอ๋ย/แมวขโมย                      ดูซูบซีด/อิดโรย/เสียหนักหนา
                เด็กชายเก่ง/คนดี/มีเมตตา                       ให้ข้าวปลา/อิ่มหนำ/แสนสำราญ
                จากแมวโทรม/ถอดรูปแล้ว/เป็นเเมวสวย       แถมยังช่วย/จับหนู/อยู่ในบ้าน
                กตัญญู/รู้คุณ/รู้ทำงาน                             ชีวิตก็/เบิกบาน/สำราญเอย
                                                                                              (จตุภูมิ วงษ์แก้ว)
          2) กลอนสักวา
        ลักษณะกลอนสักวา คำว่าสักวา เขียนเป็นสักรวาก็มีคำว่าสักวานี้ย่อมาจากสักวาทะ  หรือสักวาทีซึ่งเป็นคำตรงกันข้ามกับคำปรวาทะ หรือปรวาทีเพราะในการเล่นสักวานั้นมีการโต้ตอบกันเป็นบทกลอนการเล่นสักวาเป็นการเล่นอย่างหนึ่งของชาวไทยมีมาแต่สมัยอยุธยาเมื่อถึงฤดูน้ำมากนเทศกาลทอดกฐิน ทอดผ้าป่าและเที่ยวทุ่ง 
ในสมัยนั้นผู้มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้านายลงมาจะพาบริวารซึ่งเป็นนักร้องทั้งต้นบทและลูกคู่ มีโทน ทับ กรับ ฉิ่ง  
ลงเรื่อไปเที่ยวบางลำก็เป็นเรือชาย
         บางลำก็เป็นเรือหญิง เมื่อไปพบปะประชุมกันในท้องทุ่งต่างฝ่ายก็คิดบทสักวาร้องโต้ตอบกันสักวานั้นต้องคิดเป็นกลอนสดโต้ให้ทันกันผู้ชำนาญการประพันธ์เท่านั้นจึงจะบอกบทสักวาได้สักวานิยมเล่นกันมาจนถึงรัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์
          กฎกลอนสักวา
        1. กลอนสักวาบทหนึ่งมี 8 วรรค หรือ 2 คำกลอน วรรคหนึ่งใช้คำตั้งแต่ 6-9 คำ ถ้าจะแต่งบทต่อไปต้องขึ้นบทใหม่ ไม่ต้องมีสัมผัสเกี่ยวข้องกับบทต้น
        2. กลอนสักวาต้องขึ้นต้นด้วยคำว่าสักวาและลงท้ายด้วยคำว่าเอย
        3.สัมผัสและคงงามไพเราะอื่นๆ เหมือนกับกลอนสุภาพ
        4.วิธีเล่นสักวาในปัจจุบันผิดแผกไป จากเดิมเล็กน้อย  คือร้องบทไหว้ครูด้วยเพลงพระทอง แบบโบราณ ให้เป็นตัวอย่างเพียงบทเดียวบทต่อๆไปทั้งบทเชิญชวนและบทเรื่องร้องเพลง 2 ชั้นธรรมดาทั้งนี้เพื่อ  รักษาเวลาที่มีเพียงประมาณ ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น และเพิ่มรสในการฟังเพลงโดยเพิ่มวงปี่พาทย์ไม้นวมสำหรับคลอเสียงด้วย การเล่นก็แสดงกันบนเวทีมีกระดานดำ 5 แผ่นเรียงกันด้าน หลัง มีคนเขียนกลอนสักวาตามคำบอกแผ่นละคน ผู้บอกสักวานั่งประจำโต๊ะ คนละโต๊ะ อยู่หน้าเวทีใกล้กับคนร้องของตน แทนการนั่งในเรือคนละลำอย่างโบราณ
          แผนผัง

          ตัวอย่างกลอนสักวา   
                             สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน
                    ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
                   กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม
                   อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
                   แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม
                   ดังดูดดื่มบรเพ็ดต้องเข็ดขม
                   ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์
                    ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
          3) กลอนเสภา
          กลอนเสภา เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งเพื่อใช้ขับ เพราะใช้เป็นกลอนขับ จึงกำหนดคำไม่แน่นอน มุ่งการขับเสภาเป็นสำคัญจึงใช้คำ 7 คำ ถึง 9 คำ การส่งสัมผัสนอกเหมือนกับกลอนสุภาพแต่ไม่บังคับหรือห้ามเสียงสูง ต่ำ ตามจำนวนคำแต่ละวรรค อยู่ในเกณฑ์กลอน 7-9 เช่น เสภาขุนช้างขุนแผน มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้


           4) กลอนบทละคร 
          กลอนบทละคร เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการเล่นละคร ต้องอาศัยทำนองขับร้องและเครื่องดนตรีประกอบ แต่งเสร็จต้องนำไปซักซ้อมปรับปรุง ดังนั้น จำนวนคำของแต่ละวรรคจึงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจังหวะขับร้องเป็นสำคัญ ว่าโดยหลักมีแต่ 6 คำ ถึง 9 คำ แต่ที่ปรากฏว่าใช้มากสุด คือ 6 คำ เช่นเรื่องรามเกียรติ์ เฉพาะวรรคแรกขึ้นต้น ใช้ 2 คำ ถึง 4-5 คำ บางคราวก็ส่งสัมผัสไปยังวรรคที่ 2 บางคราวก็ไม่ส่ง คำที่ใช้เช่น เมื่อนั้น, บัดนี้, น้องเอ๋ยน้องรัก
          แม้กลอนสดับ จะใช้คำพูดเพียงสองคำ ก็ถือถือว่าเต็มวรรค โดยลักษณะสัมผัสในวรรคและนอกวรรค นิยมใช้แบบกลอนสุภาพ แต่งเป็นตอน ๆ พอจบตอนหนึ่ง ขึ้นตอนต่อไปใหม่ ไม่ต้องรับสัมผัสไปถึงตอนที่จบ เพราะอาจเปลี่ยนทำนองตามบทบาทตัวละคร ที่ขึ้นต้นว่า เมื่อนั้น ใช้สำหรับพระเอกหรือผู้นำในเรื่อง บัดนั้น ใช้สำหรับเสนา กลอนนี้เป็นกลอนผสม คือ กลอน 6 กลอน 7 กลอน 8 หรือ กลอน 9 ผสมกันตามจังหวะ  มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้


                           ***ฟังตัวอย่างการอ่านกลอนลำนำ คลิกที่นี่


3. กลอนตลาด
 กลอนตลาดคือ กลอนผสมหรือกลอนคละไม่กำหนดคำตายตัวเหมือนกลอนสุภาพ วรรคหนึ่งอาจมี 7-9 คำก็ได้ นิยมใช้ร้องแก้กันทั่วไป มี 4 ชนิดคือ
          1) กลอนเพลงยาว
          มีบังคับ คือ บทขึ้นต้นต้องมีเพียง 3 วรรคโดยขึ้นต้นที่วรรครับในบทแรก ส่วนบทต่อๆ ไป มี 4 วรรคตลอด ส่งสัมผัสตามผังกลอนสุภาพ ความยาวไม่จำกัด แต่ต้องลงท้ายด้วยคำว่า “เอย”
          2) กลอนนิราศ
          ลักษณะบังคับ มีลักษณะเช่นเดียวกับกลอนเพลงยาว ดังนั้นในบทแรกของนิราศจะขึ้นต้นด้วยวรรครับ จึงมีเพียง 3 วรรคเท่านั้น กลอนนิราศ นี้ไม่จำกัดความยาวในการแต่ง จะมีความยาวเท่าใดก็ได้ แต่ส่วนมากมักจะเขียนกันเป็นเรื่องยาว จุดประสงค์ของการแต่งกลอนนิราศคือ ใช้สำหรับบันทึกการเดินทางจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่หนึ่ง คำขึ้นต้นมักใช้คำ “นิราศ” และลงท้ายด้วย “เอย” เท่านั้น
          นิราศ แปลว่า การจากไป การพรากไป หรือการระเหระหน ในฉันทลักษณ์หมายถึง หนังสือหรือบทประพันธ์ที่พรรณนาถึงการจากถิ่นฐานที่อยู่ไปในที่ต่างๆ และต้องรำพันถึงการจากคนรัก คู่รัก เมีย ถ้าไม่มีคนรักคู่รักก็สมมุติให้มีในมโนภาพตามจินตนารมณ์ที่ปรารถนาจึงนับว่าถูกต้องตามแบบนิยมของนิราศ

         
3) กลอนนิยาย
          กลอนนิทานหรือกลอนนิยาย ก็มีลักษณะเหมือนกลอนเพลงยาวนั่นเอง แต่แต่งเป็นเรื่องยืดยาว ทำนองนิยายหรือเทพนิยาย มีพระเอก นางเอก มีการรบทัพจับศึกและความอัศจรรย์ต่างๆ หรือจะแต่งนิยายอย่าง
นวนิยายสมัยใหม่ก็ได้ เนื้อเรื่องของกลอนนิทานเป็นเรื่องแต่ง ซึ่งอาจนำมาจากชาดก นิทานพื้นบ้าน หรือจินตนาการขึ้นเอง มีโครงเรื่อง ตัวละคร ฉากเหตุการณ์ กลอนนิทาน เป็นวรรณกรรม ที่มุ่งให้ความบันเทิงหรือแทรกคติสอนใจ เช่น พระอภัยมณี ลักษณวงศ์ โคบุตร จันทโครบ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องจักรๆ วงศ์เป็นส่วนใหญ่
         
4) กลอนเพลงปฏิพากย์
          กลอนเพลงปฏิพากย์ เป็นกลอนที่ใช้ว่าแก้กันเป็นทำนองฝีปากโต้คารมบ้างเกี้ยวบ้าง เสี่ยงสัตย์อธิฐานบ้าง โดยมากเป็น กลอนสั้นๆ นับว่าเป็นสมบัติของชาติไทยโดยแท้ เพราะแพร่หลายในหมู่คนไทยโดยทั่วไป แม้ผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาก็สามารถว่าได้ และว่าเป็นกลอนสดเสียด้วย จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ชาติไทยเราชื่อว่าเป็นชาตินักกลอน กลอนเพลงปฏิพากย์ มีหลายชนิดได้แก่
                             - เพลงฉ่อย
                             - เพลงเรือ
                             - เพลงปรบไก่
                             - เพลงชาวไร่
                             - เพลงชาวนา
                             - เพลงแห่นาค
                             - เพลงพิษฐาน
                             - เพลงพวงมาลัย
                             - เพลงโคราช
                             - เพลงรำอีแซว
                             - เพลงลิเก
                             - ฯลฯ



                           ***ฟังตัวอย่างการอ่านกลอนตลาด คลิกที่นี่



ความรู้เรื่องกลอนในภาษาไทย

กลอนในภาษาไทยคืออะไรนะ?
       เรามาทำความรู้จักกับกลอนในภาษาไทยกันเถอะ... Let's go! 


           


ความหมายของกลอน
             กลอน คือ คำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่บังคับ คณะและเสียง วรรณยุกต์ บังคับสัมผัส คือเสียงที่คล้องจองกัน มีอยู่ด้วยกันหลาย ชนิด มีลักษณะบังคับที่แตกต่างกันไป และมีชื่อเรียกต่างๆกันตามแต่บัญญัติไว้
             กลอน เป็นลักษณะคำประพันธ์ไทยที่ฉันทลักษณ์ประกอบด้วยลักษณะบังคับ 3 ประการคือ คณะ จำนวนคำ และสัมผัส ไม่มีบังคับเอกโทและครุลหุ เชื่อกันว่าเป็นคำประพันธ์ท้องถิ่นของไทยแถบภาคกลางและภาคใต้ โดยพิจารณาจากหลักฐานในวรรณกรรมทั้งวรรณกรรมลายลักษณ์ (เป็นตัวหนังสือ) และวรรณกรรมมุขปาฐะ (เป็นคำพูดที่บอกต่อกันมาไม่มีการจดบันทึก) โดยวรรณกรรมที่แต่งด้วยกลอนเก่าแก่ที่สุดคือ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และเพลงยาว ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล กวีแต่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย ก่อนหน้านั้นกลอนคงอยู่ในรูปแบบวรรณกรรมมุขปาฐะเป็นร้อยกรองชาวบ้านเช่น บทร้องเล่น บทกล่อมเด็ก เพลงชาวบ้าน เป็นต้น



ที่มาของกลอน
           คำประพันธ์ประเภทกลอนเป็นคำประพันธ์ที่มีมานานแล้ว สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กลอนมาเจริญรุ่งเรืองมากในรัชกาลที่ 2 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  กวีที่สำคัญได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสุนทรภู่ ฯลฯ โดยเฉพาะท่านสุนทรภู่นั้นเราทุกคนได้ประจักษ์ชัดเจนว่าท่านเป็นกวีเอกของโลกเป็นบรมครูกลอนเรียกได้ว่าคำประพันธ์ประเภทกลอนได้เจริญพัฒนาสูงสุดลีลากลอนของท่านสุนทรภู่ได้รับการยอมรับให้เป็นกลอนที่มีความไพเราะที่สุด
     

การจำแนกประเภทกลอน

กลอนจำแนกตามฉันทลักษณ์
          ฉันทลักษณ์ของกลอนในวรรณกรรมจำแนกได้ 5 ประเภทคือ จำแนกตามจำนวนคำ จำแนกตามคำขึ้นต้น จำแนกตามคณะ จำแนกตามบทขึ้นต้นและจำแนกตามการส่งสัมผัส
      1. จำแนกตามจำนวนคำ จะแบ่งได้ 2 ชนิดคือ
           1.1 กลอนกำหนดจำนวนคำเท่ากันทุกวรรค (กลอนสุภาพได้แก่ กลอนสี่ กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด และกลอนเก้า
           1.2 กลอนกำหนดจำนวนคำในวรรคโดยประมาณ ได้แก่ กลอนนิทาน กลอนนิราศ กลอนเสภา
กลอนดอกสร้อย กลอนสักว กลอนบทละคร กลอนเพลงยาว และกลอนชาวบ้าน
      2. จำแนกตามคำขึ้นต้น จะแบ่งได้ 2 ชนิดคือ
           2.1 กลอนบังคับคำขึ้นต้น ได้แก่ กลอนดอกสร้อย กลอนสักวา กลอนเสภาและกลอนบทละคร
           2.2 กลอนไม่บังคับคำขึ้นต้น ได้แก่ กลอนสี่ กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด กลอนเก้า กลอนนิราศ กลอนนิทาน และกลอนเพลงยาว
      3. จำแนกตามคณะ จะแบ่งได้ 2 ชนิดคือ
           3.1 กลอนไม่ส่งสัมผัสระหว่างคณะ ได้แก่ กลอนดอกสร้อย และกลอนสักวา
           3.2 กลอนส่งสัมผัสระหว่างคณะ ได้แก่ กลอนบทละคร กลอนเสภา กลอนนิทาน กลอนนิราศ กลอนเพลงยาว กลอนสี่ กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด และกลอนเก้า
      4. จำแนกตามบทขึ้นต้น จะแบ่งได้ 2 ชนิดคือ
           4.1 กลอนบังคับบทขึ้นต้นเต็มบท (วรรค) ได้แก่ กลอนสี่ กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด กลอนเก้า กลอนดอกสร้อย กลอนสักวา กลอนเสภา และกลอนบทละคร
           4.2 กลอนบังคับบทขึ้นต้นไม่เต็มบท (วรรค) ได้แก่ กลอนนิราศ กลอนเพลงยาว และกลอนนิทาน
      5. จำแนกตามการส่งสัมผัส จะแบ่งได้ 2 ชนิดคือ
           5.1 กลอนส่งสัมผัสแบบกลอนสุภาพ ได้แก่ กลอนสี่ กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด กลอนเก้า กลอนดอกสร้อย กลอนสักวา กลอนเสภา กลอนนิทาน กลอนนิราศ กลอนเพลงยาว และกลอนบทละคร
           5.2 กลอนส่งสัมผัสแบบกลอนชาวบ้าน
                กลอนส่งสัมผัสแบบกลอนสังขลิก ได้แก่ กลอนในบทร้องเล่นของเด็ก
                กลอนส่งสัมผัสแบบกลอนหัวเดียว ได้แก่ กลอนเพลงชาวบ้าน เช่น เพลงเรือ ลำตัด เพลงอีแซว เป็นต้น
***กลอนสังขลิกและกลอนหัวเดียว ปรากกฎเฉพาะในร้อยกรองมุขปาฐะ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลอนชาวบ้าน

กลอนจำแนกตามวัตถุประสงค์การนำไปใช้
      แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
            1. กลอนอ่าน เป็นกลอนที่ผู้แต่งมีจุดมุ่งหมายแต่งไว้สำหรับอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน แบ่งเป็น 8 ชนิด ได้แก่ กลอนนิราศ กลอนเพลงยาว กลอนนิทาน กลอนสี่ กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด และกลอนเก้า
            2. กลอนร้อง เป็นกลอนที่แต่งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายสำหรับการขับโต้ตอบกัน การขับลำนำเพื่อความไพเราะ และการขับร้องประกอบการแสดงเพื่อความบันเทิง แบ่งเป็น 5 ชนิด ได้แก่ กลอนดอกสร้อย กลอนสักวา กลอนเสภา กลอนบทละคร และกลอนเพลงชาวบ้าน